เจียวกู่หลาน ชาบำบัดโรค 5/5 (7)



โหวตบทความนี้หน่อยจ้า

ทำไมเจียวกู้หลานจึงเป็นสมุนไพรที่น่าใช้
คัดลอกเนื้อหาจากเว็บ www.palapanyo.com/content/node/771

เจียวกู้หลาน “ไม่ใช่โสม แต่ดีกว่าโสม”
เจียวกู้หลาน หรืออีกชื่อ ซีแย่ตั่น เป็นพืชตระกูลหญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติ ประเภทแตงน้ำเต้าเจริญงอกงามอยู่ตามแถบภูเขาฉินหลง และเขตมณฑลทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้

เดิม เจียวกู้หลาน เป็นอาหารที่ใช้รับประทานแก้หิว ยามกระหาย ใช้เป็นยาแก้ไอ และแก้ร้อนใน ต่อมาก็เริ่มมีการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาใช้เจียวกู้หลานในการผลิตยาและเหล้า

จากการศึกษาด้านคลีนิค และด้านเภสัชทั้งในประเทศจีน และต่างประเทศพบว่า เจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่ใช้รับประทานประจำได้ ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้นหรือทำการสกัดออกมา โดยจะประกอบด้วยตัวยา 50 ชนิด ซึ่งมีตัวยาที่เหมือนโสมคน 4 ชนิด Rd1 , Rd3 , Rd และ F2 รวมอยู่ด้วย ดังนั้น เจียวกู้หลาน ไม่เพียงมีคุณสมบัติเทียบเท่าโสมคนเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องกังวล ต่างจากโสมคน ซึ่งหากใช้เกินขีดปริมาณที่กำหนด อาจเกิดผลข้างเคียงได้

เจียวกู้หลาน ใช้บำรุงร่างกาย ระงับประสาท ช่วยให้นอนหลับ ลดความตื่นเต้น ลดความดันโลหิต ลดคลอเรสเตอรอล ฟอสฟอไลปีด และกรดไขมันอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ชลอความชรา ยืดอายุของเซลเพิ่มจำนวนอสุจิ รักษาโรคปวดหัวข้างเดียว ช่วยควบคุมน้ำหนักได้โดยไม่ต้องอดอาหาร ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

“ประวัติของเจียวกู้หลาน”
ในปี 1977 มีคนจีนเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ชื่อ ศิว์สื้อหมิงเป็นเภสัชกร จบจากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่ง เข้าได้ทำงานที่สถาบันวิจัยสมุนไพรนครอานดัง มลฑลส่านซี จนกระทั่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวจากเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอ ผิงลี่ ระยะทางไกลประมาณ 50 กม. ในช่วงที่เขามาพักผ่อนที่บ้าน ก็ได้ใช้เวลาเสาะแสวงหาสุมนไพรตัวใหม่ ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยการไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพรตัวใหม่ชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า “เสี่ยวโหม่งจูเถิง” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเลือด และโรคความดันโลหิตสูง ได้อย่างดี เขาดีใจมากที่ได้รับการยืนยันจากหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยว่าสมุนไพรชนิดนี้ให้ผลการรักษาได้หลายโรคจริง ๆ มันเป็นยาสมุนไพรวิเศษถูกใจตามความคาดหวัง ที่เขาเสาะแสวงหามานานหลายสิบปีแล้ว เมื่อเขากลับไปที่ห้องทำงาน สถาบันวิจัยเดิมของเขา เขาก็ได้นำสมุนไพรดังกล่าวไปศึกษาวิจัยทันที ตามตำราแผนโบราณจีน หญ้าชนิดนี้เรียกว่า “เจียวกู้หลาน” ซึ่งแรกเริ่มนั้น เจียวกู้หลาน เป็นอาหารที่ชาวบ้านใช้รับประทาน แก้หิวยามฤดูแล้ง ได้มีการบันทึก ในตำราไว้ ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้ร้อนในต่าง ๆ

เจียวกู้หลาน มีชื่อจีนหลายชื่อ เช่น ซิเย่ตั่น จิ้วฮวงเปิ้นเฉา และหนงจิ้งเฉวิยนหู แต่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Gynostemmapen taphyllum Makino ในวงศ์ Cucurbitaceae ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า อะมาซาซูรู (Amaehazuru) ในเมืองไทยเคยมีการนำจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน เข้าปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2537 เรียกชื่อไทยว่า ชาปัญจขันธ์ ชาเบญจขันธ์ ชาทิกวนอิม หรือซาสตูล เพราะเคยนำมาปลูกที่จังหวัดสตูลได้ผลดีเป็นครั้งแรก ปัจจุบันมีการปลูกที่เชียงใหม่ เช่น ที่วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรมเชียงใหม่ สันกำแพง และในอีกหลายแห่งของประเทศ เจียวกู้หลานเป็นพืชล้มลุกชนิดเถา เลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตงน้ำเต้า มีใบ 3-5 ใบ ด้านบน และด้านใต้ใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม เป็นพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ เจริญงอกงามอยู่บนแถบเขตภูเขาฉินหลง และเขตมณฑลทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ สารสำคัญในเจียวกู้หลานจะมีมาก อีกทั้งต้นก็เจริญเติบโตง่าย เจียวกู้หลานจึงถูกขานชื่อว่าเป็น “โสมคนทางใต้”

ในประเทศไทย ทางกระทรวงเกษตร ได้นำมาเผยแพร่นานแล้ว แต่อาจจะมีปัญหาในด้านการรักษาต้นพันธุ์ ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก เพราะเป็นพืชล้มลุกและตายง่าย ในฤดูฝนจะหยุดเจริญ ในขณะที่ส่วนใต้ดินยังจะเจริญดีอยู่ อย่างไรก็ตามมีผู้สนใจ และปลูกเจียวกู้หลานในบางแห่ง เพื่อผลิตเป็นเครื่องดื่มมีรสชาติแตกต่างกันบ้าง รสหวานบ้าง รสขมบ้าง ในรูปของชาสมุนไพรเสริมสุขภาพ ออกจำหน่ายแล้ว ส่วนที่นำมาใช้ คือ ส่วนเหนือดินของพืชที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป และเก็บจากต้นมาใช้ได้ 2-3 ครั้งต่อปี นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีการศึกษาปัญจขันธ์ โดยการนำไปทำการแพร่พันธุ์แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และนำไปปลูกได้ดี และศึกษาคุณสมบัติของส่วนประกอบสำคัญในด้านยา และเครื่องสำอางค์อยู่

“ผลการวิจัยทางชีวภาพ”
มีรายงานในประเทศจีน ว่า ส่วนก้านและใบของเจียวกู้หลาน มีสารสำคัญ เช่น ซาโปนิน ซึ่งสามารถเสริมภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ชัดเจนมาก โดยการออกฤทธิ์ต่อต้านฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของยารักษามะเร็ง เช่น cyclophosphamide ทำให้น้ำหนักอวัยวะที่สร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น เพิ่ม hemolysin เพิ่มจำนวน natural killer cells ซึ่งมีหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง และทำให้ผู้ที่ทดลองที่ทานเข้าไปแข็งแรงไม่รู้สึกอ่อนเพลียง่ายและทนทานต่อภาวะ trypoxia

“คุณสมบัติทางเภสัชและคลีนิค”
การศึกษาด้านคลีนิคและด้านเภสัชศาสตร์ พบว่าเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัย และใช้รับประทานประจำได้ ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้นและใบ หรือทำการสกัดออกมาได้มีการใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ โรคเรื้อรัง และส่วนกระตุ้นประสาทไม่ทำให้มีความผิดปกติ หรืออาการแพ้ใด ๆ จากการทดลองพิสูจน์ว่า เจียวกู้หลานที่สกัดออกมานั้นสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดของสัตว์ทดลองที่มีไขมันสูงได้ ลดสารที่ได้จากปฏิกิริยาออกซิเดซัน เช่น ลิปิดเปอร์ออกไซด์ คอเลสเตอรอล ฟอสฟอไลปิด กรดไขมันอิสระ เพิ่มพลังกำลังของหัวใจขาดเลือด ชลอความชรา ยืดอายุของเซลล์ และเพิ่มจำนวนอสุจิ เป็นต้น

ชาเจียวกู้หลาน [ก้าน]
ปกติแล้วสรรพคุณของเจียวกู้หลาน โดยมากจะรวมตัวกันอยู่ที่กิ่งก้าน แต่อาจจะต้องต้มเอาจึงจะได้ผลของสรรพคุณที่มากที่สุด (เหมือนยาจีน) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกนิดหนึ่ง แต่ก็ได้มา ซึ่งสรรพคุณที่เต็ม 100 หากว่าท่านมีเวลานิดหนึ่ง แนะนำแบบนี้จะดีที่สุด

การต้มชาเจียวกู้หลานแบบก้าน จริงๆแล้วสามารถชงแบบชาก็ได้ แต่อาจต้องใช้น้ำอุณหภูมิที่สูงมากหน่อย ดังนั้น ทางเหนือจึงนิยมนำไปต้มแบบลักษณะคล้ายการต้มยาจีน โดยใช้เวลาประมาณ 3-5 นาทีในน้ำเดือด

ส่วนที่ว่าสรรพคุณส่วนสำคัญจะอยู่ที่ก้าน ข้อมูลมาจากแหล่งผู้ผลิตที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เนื่องจากลักษณะของต้นชาเจียวกู้หลานเป็นลักษณะ ไม้เถาล้มลุก แบบไม้เลื้อย จึงมีส่วนที่เป็นกิ่งก้านสาขามากกว่าส่วนของใบ เมื่ออบมาใบจะหดและแห้งจึงทำให้สูญเสียคุณสมบัติไปบ้างในขั้นตอนการผลิต

ข้อมูล ชื่อสากล
GYNOSTEMMA, PENTA TEA, Southern Ginseng

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เจียวกู้หลาน
เจียวกู้หลาน เป็นไม้เถาล้มลุก อยู่ได้หลายปี ลำต้นหรือเถาเล็กเรียวยาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 4 มม. ที่ข้อของเจียวกู้หลาน มีขน บาง ๆ และมีระยางค์ เป็นเส้นยาว ปลายเส้นแยกเป็น สองแฉก ลำต้นสามารถเลื้อย และแตกแขนงได้ ส่วนที่ทอดไปตามดิน สามารถงอกเป็นรากได้ เจริญเติบโตดีในที่ชุ่มชื้น ตั้งแต่ที่ราบ จนไปถึงที่ ๆ สูงจากระดับน้ำทะเลสูงประมาณ 3,200 เมตรเหนือจากระดับน้ำทะเล

รสชาติส่วนก้านจะขมกว่าใบ ส่วนที่เป็นใบลูกค้าบางคนก็บอกว่าหวาน…

เจียวกู้หลานแบบก้าน ที่จริงสามารถชงแบบชาได้ แต่ต้องใช้น้ำที่อุณหภูมิสูงๆ หรือที่ 100 องศา แล้วแช่ไว้ 3-5 นาทีเหมือนกันกับแบบต้ม แต่แบบต้มเวลาเปิดไฟตุ๋นต่อไปเรื่อยๆก็จะเหมือนกับการสกัดเอาสรรพคุณตัวยาที่ได้มากขึ้น โดยใช้ประมาณ 5 กรัมสำหรับ 1 แก้ว(200ml) และ 10 กรัมสำหรับกาชา

สามารถชงซ้ำได้ 1-2 รอบแล้วแต่ปริมาณที่ใส่ลงไป หรือจนกว่าน้ำชาจะเจือจางลง

เจียวกู้หลาน หรือ GYNOSTEMMAPEENTAPHYLLUM MARKINO อยู่ในวงศ์ CUCUBIRACEAE มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นกลมสีเขียว แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามหน้าดินหรือไต่พาดพันต้นไม้อื่น มีรากหรือมือเกาะเป็นเส้นตามโคนก้านใบแล้วจะฝังลงดินแผ่กระจายไปเรื่อย ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5 ใบ ขนาดไม่เท่ากันเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย สีเขียวเข้ม ดอกเป็นสีแดงขนาดเล็ก ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก 2 – 3 ดอก ออกที่ปลายยอด มีกลีบดอก 4 กลีบ ดอกจะออกเมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น ปัจจุบันเจียวกู้หลาน มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี แผ คุณตุ๊ก หน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง มีชื่ออื่นเรียกอีก คือ หญ้ามหัศจรรย์ โสมภาคใต้ โสมห้าใบ สมุนไพรอมตะ ญี่ปุ่นเรียก อะมาซาซูรู หรือ ชาหวานจาเถา

สรรพคุณ ทั้งต้นตั้งแต่ยอดถึงราก มีส่วนประกอบสำคัญเท่ากับโสมถึง 6 ชนิดรวมกัน ช่วยเสริมสร้างพลัง ช่วยรักษาโรคเฉียบพลันและร้ายแรงของคนวัยกลางคน จนถึงวัยชรา เช่น โรคเส้นเลือดใหญ่อุดตัน ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ เบาหวาน หอบหืด และโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เข้มแข็ง มีพลัง ทำให้ร่างกายมีความต้านทานโรคระบาดได้ และรู้สึกกระชุ่มกระชวย “ฟื้นหนุ่มสาว” กลับคืนมาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ซึ่งผลการศึกษาวิจัยช่วยให้นอนหลับดี ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุมกันยังยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมาก

ในทางการค้าบางทีก็มีการคัดเลือกเฉพาะบางส่วน หรือคัดบางส่วนมาขายเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าอย่าง เช่น ชาสมุนไพรปัญจขันธ์ (เจียวกู้หลาน) เกรด A คัดเลือกเฉพาะยอดอ่อน ไม่มีเถา ไม่มีใบแก่ รสชาตินุ่มนวล ไม่ขมไม่ฝาด ลื่นคอ คัดพิเศษ มีความประณีต

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในทางสรรพคุณของยาก็จะไม่มีความแตกต่างกันมาก ฉะนั้นการเลือกซื้อเจียวกู้หลานก็เป็นไปตามความพอใจของผู้ซื้อนั่นเอง

เจียวกู้หลานเป็นพืชต้นกำเนิดที่ประเทศจีนชอบอากาศหนาวเย็นและเป็นพืชออแกนิกตั้งแต่เกิด (ไม่สามารถใช้สารเคมีในการดูแลรักษา) อากาศดี – น้ำดี ลักษณะเป็นไม้เลื้อยเถาวัลย์คล้ายผักตำลึง ขนาดลำต้นสีเขียวทรงกลม แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามหน้าดิน สามารถเลื้อยไปได้ไกล 2 – 3 เมตร โดยจะมีรากหรือมือเกาะเป็นเส้นแตกออกตามโคนก้านใบทุกก้าน และจะฝังดินเป็นรากยึด แตกเป็นลำต้นแผ่กระจายไปเรื่อย ๆ ใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน เป็นรูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบเป็นสีเขียวเข้มหนาแน่นเป็นแพน่าชมยิ่ง ใบแก่บนใบจะมีเมล็ดเล็ก ๆ สีดำเกาะอยู่บนใบจำนวนมาก มองตาเปล่าไม่เห็นเมื่ออบแห้งแล้ว นำมาชงน้ำดื่มและพอน้ำเย็นลง ก้นแก้วจะพบเศษเล็ก ๆ คล้ายทรายนอนอยู่ก้นแก้ว สารเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเมล็ดแมงลักเหล่านี้จะสามารถชะล้างเซลล์ในเนื้อเยื่อภายในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารได้ดี ชะล้างเนื้อเยื่อ เมื่อเซลล์เก่าถูกชะล้าง เซลล์ใหม่ก็จะเปิดบอลลูนขึ้นมาแทนที่ให้มีประสิทธิภาพ เป็นภูมิต้านทานโรค ส่วนดอกเป็นสีแดง ขนาดเล็กมาก ออกเป็นเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก 2 – 3 ดอก ที่ปลายยอดลักษณะดอกมีกลีบดอก 4 ดอก ดอกบานพร้อม ๆ กันทุกยอด จะดูสวยงามมาก ดอกจะออกเมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่

เจียวกู้หลาน
สมเด็จพระเทพ เสด็จประพาสจีนและทรงเล็งเห็นประโยชน์ของเจียวกู้หลาน เป็นสมุนไพรที่รักษาโรคได้หลายชนิด มีสรรพคุณใกล้เคียงกับใบชา ข้อดีคือไม่มีคาเฟอีน รสชาติก็ดื่มง่ายเหมือนโสม และทรงเล็งเห็นว่าภูมิศาสตร์ประเทศไทยก็เหมาะที่จะปลูกพืชชนิดนี้ จึงได้ส่งเสริมให้มีการปลูกอย่างแพร่หลาย และขนานนามสมุนไพรชนิดนี้ให้ใหม่เพื่อบรรจุเข้าสมุนไพรไทย ชื่อ “เบญจขันธ์ หรือ ปัญจขันธ์” คนจีนเรียกเซียนเฉ้า (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ฝรั่งเรียก “Gynostemma pentaphyllum”

เป็นพืชปลอดสารเคมี ตั้งแต่แรกเกิด การเพาะชำต้องรดน้ำในห้วยที่ไหลมาจากยอดเขา เพราะน้ำในห้วยมีสารอาหารและแร่ธาตุมากมายเหมาะแก่การปลูกเจียวกู้หลาน ใช้น้ำปะปารดไม่ได้เพราะมีสารคลอรีน ต้นไม้จะตาย หรือไม่ผลิตใบ มีแต่ลำต้น หรือถ้าออกใบก็จะห่างมากเป็นคืบ ไม่ชอบแดดร้อนจัด ต้องปลูกใต้หลังคาสังเคราะห์แสง ใส่ปุ๋ยเคมีหรือฉีดยาฆ่าแมลงก็ไม่ได้ ต้นอาจตายหรือไม่ออกใบ เหลือแต่ก้าน ใช้ความละเอียดในการจัดการ ถึงจะได้ผลผลิตนำออกสู่ตลาด จากการวิจัยของศูนย์วิจัยทั่วโลก ยกระดับใบของเบญจขันธ์ เจียวกู้หลานเป็นพืชมหัศจรรย์ สามารถรักษาโรคได้หลายชนิด ลดระดับความดันของหลอดเลือด รักษาโรคได้หลายชนิดและเป็นตัวปรับสมดุลย์ของเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง เบญจขันธ์ เจียวกู้หลาน นำมา สกัดทำยาหลายชนิดและหลายขนาดภายใต้ภาษาอังกฤษ ( GYNOSTEMMA PENTAPHTLLUM ) เบญจขันธ์ เจียวกู้หลาน ได้บรรจุเข้าเป็นสมุนไพรไทยแล้ว ภายใต้ชื่อ เบญจขันธ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซียนเฉ้า วิธีเก็บเบญจขันธ์ เมื่อเด็ดเถาวัลย์มาแล้วจะเอาผ้าขาวห่อเหมือนลูกประคบ ขนาดใหญ่ และนำมานวดเบา ๆ ให้ใบเสียดสีกันแต่ไม่ให้ช้ำมาก ให้ได้ทั่วกัน และแกะผ้าขาวออก ผึ่งคลายความร้อนจากการนวด แล้วนำมาอบแห้ง บรรจุซองตะกั่วเมลามีนปิดซองสนิทกันความชื้น ไม่ให้ลมนอกเข้าและไม่ให้ลมในออก กลิ่นจึงหอม ขนาดบรรจุมี 2 ขนาด คือ 100 กรัมและ 200 กรัม มาตรฐานใบชาที่บรรจุอยู่ในซองตะกั่วเมลามีนเก็บรักษาได้อายุ 2 ปี เมื่อเปิดซองใบชาควรพับ 2 – 3 ชั้น และเอากิ๊ปหนีบ หรือหนังสติ๊กรัดรอบบนล่าง ที่พับเข้าหากันก้นถุง และอยู่ในที่ไม่มีแดด อย่านำเข้าตู้เย็น ถ้าเข้าตู้เย็น เมื่อนำมาชงดื่มเสร็จแล้วก็ต้องอย่าลืมเก็บกลับเข้าตู้เย็น มิฉะนั้นใบชาอาจขึ้นราได้ ถ้าดื่มทุกวันก็ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น

  • สรรพคุณเทียบกับโสม 5 ชนิด
  • ลดความดันโลหิต, ลดคอเลสเตอรอล
  • ลดน้ำตาลในเลือด, ละลายไขมันอิสระ
  • ชะลอความแก่, ยืดอายุของเซลล์
  • รักษาโรคปวดหัวข้างเดียว, โรคหลอดลมเรื้อรัง
  • รักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว, โรคหัวใจ
  • ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • รักษาโรคกระเพาะเป็นแผล
  • เสริมสร้างเซลล์ในกระดูก
  • บำรุงสมอง, ระงับประสาท
  • ขับท่อปัสสาวะ, ลดอาการต่อมลูกหมากโต
  • สร้างสมดุลฮอร์โมนรอบเดือนสตรี
  • ฟื้นฟูฮอร์โมนต่อมลูกหมากสุภาพบุรุษ
  • ช่วยขับน้ำ หมายถึง จะขับน้ำในร่างกายของคนที่เป็นคนอ้วน ซึ่งส่วนใหญ่จะอ้วนลมและอ้วนน้ำที่เกินสมดุล หรือที่สมดุลไม่ปกติ ให้น้ำนั้นออกจากร่างกาย ช่วยขับของเสียที่ไต
  • ล้างท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะโล่งและมีแรงดัน ฉะนั้นบางคนที่ดื่มเจียวกู้หลานจะปัสสาวะบ่อยและจะมีเศษของนิ่วออกมาด้วย

ช่วยขับลม หมายถึง ลมที่ไม่ปรกติ ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลมแน่นหน้าอก กรดไหลย้อน ลมในไขข้อกระดูก ตามหัวไหล่ แขนและขา เมื่อดื่มเจียวกู้หลานแล้ว จะขยายหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ สร้างสมดุลให้กับเม็ดเลือดที่ไปเลี้ยงตามร่างกายจะผายลม คลายปวดเมื่อย และขับเหงื่อ

ช่วยขับกาก หมายถึง ขับไขมัน การถ่ายอุจจาระเจ้าของร่างกายจะรู้สึกได้ว่าได้ขับไขมันออกมา อาการขับถ่ายจะลื่นไหลง่าย ไม่ต้องเบ่งมากและบรรเทาอาการเสียดสีของริดสีดวงทวารหนักจากอาการท้องผูก อาการขับถ่ายจะมีไขมันมาช่วยให้ลื่นไหลมาก สำหรับคนอายุมากหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้จะไม่ท้องผูก ไม่มีกรดแน่นเฟ้อ กรดไหลย้อน จะเรอลมในอกได้ ไม่มีคาเฟอีน นอนหลับง่าย ช่วยย่อยอาหาร ทำลาย อาหารที่เป็นพลังงาน หลับสนิท ประโยชน์สูงสุดดื่มก่อนนอน 1 แก้วน้ำดื่มจะดีมาก

เจียวกู้หลาน ไม่ใช่แค่เพียงช่วยในเรื่องการขับถ่ายเท่านั้น ยังช่วยสร้างฮอร์โมนให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นหญิง หรือ ชาย คนสูงอายุ การสร้างฮอร์โมน ดีต่อร่างกายคือ เป็นภูมิคุ้มกันโรค ช่วยในการย่อยอาหาร เปิดรับ เอ็นไซม์ ในอาหารได้ดี เซลล์จะเปิดบอลลูน เปิดต่อม ดี เอ็น เอ ให้ใหม่ ฟื้นฟูเซลล์ภายในอวัยวะชั้นในให้ร่างกาย ชะลอความแก่ เพราะเซลล์ทำงานมีประสิทธิภาพ เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ คือ ประโยชน์การดื่มก่อนนอน 1 แก้วน้ำดื่ม หรือมากกว่าก็จะดีมาก ดื่มคืนนี้ พรุ่งนี้เช้า คำตอบพิสูจน์ได้ด้วยตัวคุณเอง มากกว่าคำบอกเล่า

การดื่มก่อนนอนมีประโยชน์ตรงที่ มนุษย์เราเมื่อทานอาหารเช้า อาหารเที่ยง อาหารเย็น ที่ยังย่อยสลายอาหารไม่หมด หรือสารพิษที่อยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ตกค้าง การดื่มก่อนนอนจะทำหน้าที่ขับล้างสารอาหารเหล่านั้นหมดเลย รุ่งเช้าจะขับถ่ายทั้งหมด ขับถ่ายของเสีย ทั้งลม ทั้งกาก ทั้งน้ำ

สรุป เจียวกู้หลาน (เบญจขันธ์) เป็นพืชรักษาเกี่ยวกับโรคเลือด

วิธีชงดื่ม หยิบใบชา 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ภาชนะชงชา รินน้ำร้อน 90 – 100 องศา แช่ใบชาในน้ำ ประมาน 1 นาที อย่าแช่ชาสมุนไพรไว้นานเพราะจะทำให้สีชาเข้ม จะเข้าไปทำลายน้ำตาลในเม็ดเลือดแรงเกินไป ถ้าสีชาเข้มให้เอาน้ำร้อนรินใส่จนสีออกเหลืองอ่อน ดื่มอุ่น ๆ จะดีมาก หรือถ้าดื่มไม่หมดทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเทใส่ขวด แช่ตู้เย็น ดื่มเป็นน้ำเย็นก็สดชื่นดี สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตควรดื่มแทนน้ำเป็นประจำทุกวันเพื่อลดอาการความดันโลหิตและโรคเบาหวาน และคนปกติที่ไม่เป็นโรคดื่มเป็นประจำจะมีสุขภาพที่ดี เป็นภูมิคุ้มกันโรค ข้อสำคัญอย่าชงชาเข้ม เพราะดื่มทุกวัน

* หมายเหตุ ไม่ควรใช้น้ำประปาชงชาเพราะในน้ำประปามีสารคลอรีน อยู่มาก เมื่อนำมาต้มชงชาจะทำให้รสชาและกลิ่นชาเสีย

* คำเตือน ผู้ที่ห้ามดื่มชาทุกชนิด คือ หญิงตั้งครรภ,์ มารดาที่ให้นมบุตร, ผู้ที่ฟอกไต และคนผอมแห้ง ความดันต่ำ

วิธีการเก็บใบชา
อย่าเทใบชาออกไปใส่ภาชนะอื่นหากไม่จำเป็น ถ้าจะใส่ภาชนะอื่นต้องเป็นภาชนะสูญญากาศ
หลังเปิดซองแล้ว พับซองชาและเอาคลิปหนีบปากถุงไว้
บางท่านนิยมเอาชาใส่ตู้เย็นก็ดีอยู่ แต่เมื่อนำออกมาชงดื่มแล้ว ให้นำซองกลับไปใส่ตู้เย็นเหมือนเดิม แต่ถ้าเราดื่มทุกวันก็ไม่จำเป็นต้องเก็บเข้าตู้เย็นก็ได้ เพราะใบชาห่อนึงก็ดื่มได้ประมาณ 1-2 เดือน ก็หมดแล้วดื่มเป็นน้ำเย็นก็สดชื่นดี
เจียวกู้หลาน ปัญจขันธ์ หรือโสมใบ (โสมพุทธรัตนะ)
JIAOGULAN HERBAL (GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM)
สมุนไพร “อายุวัฒนะ”
เจียวกู้หลาน เป็นพืชสมุนไพรจีนซึ่งใช้บำบัดอาการอักเสบหลายชนิดมานานกว่าศตวรรษแล้ว พืชนี้อยู่ในวงศ์เดียวกับแตงกวา และหลายคนมักเรียกว่า “โสมใต้” เนี่อง จากพบได้ในเทือกเขาทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งผู้คนแถบนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอายุยืนยาวและมีอัตราการเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอุดตันต่ำมากที่สุด สาเหตุนั่นคือการบริโภค

สมุนไพรชนิดหนึ่งนั่นคือ เจียวกู้หลาน นั้นเอง

นักวิทยาศาสตร์และนักเภสัชวิทยา ได้นำตัวอย่างของพืชมาวิเคราะห์องค์ประกอบ และทดสอบฤทธิ์ทางยา พบว่าพืชนี้มีคุณสมบัติมหัศจรรย์คือ สามารถลดคอเรสเตอรอลที่สะสมในหลอดเลือดได้อย่างยอดเยี่ยม ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าเจียวกู้หลานช่วยกระตุ้นการทำงานของตับให้อยู่ในสภาพสมดุล ทำให้ตับแข็งแรง จึงทำให้มีการเผาผลาญน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสะสม จึงมีบทบาทในการควบคุมน้ำหนักได้

เจียวกู้หลาน อุดมไปด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน เกลือแร่ ซีลีเนียม แมงกานีส แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ ซึ่ง เป็นประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย

สารออกฤทธิ์ในเจียวกู้หลาน
Gypsenside มากกว่า 80 อนุพันธุ์ ซึ่งให้ฤทธิ์คล้ายกับสารออกฤทธิ์ Ginsenoside ในโสม และมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารในโสม
มีสารอนุพันธุ์ของ Saponin ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับสารที่พบในโสมอีกด้วย ซึ่งพบด้วยกัน 11 อนุพันธุ์ ที่เป็นสารชนิดเดียวกับโสม
ในการต่อต้านเซลล์มะเร็งพบว่า ช่วยป้องกันเซลล์แม่จากการพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ถึงร้อยละ 20-80
มีความสามารถในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV โดยพบว่าสามารถยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์เอชไอวี โพรทีเอส ทำให้เชื้อไวรัสเอสไอวี ไม่เพิ่มจำนวน มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานในหลอดทดลอง เมื่อทดลองในอาสาสมัครพบว่า มีความปลอดภัย (ที่มา:กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
เจียวกู้หลาน เป็นพืชสมุนไพรที่มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ซึ่งงานวิจัยนี้ติดหนึ่งในสิบงานวิจัยดีเด่นของโลก ดังนั้นการดื่มชาเจียวกู้หลานทุกวันจะส่งผลให้สุขภาพของท่านดีขึ้นอย่างเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

สรรพคุณของชาเจียวกู้หลาน
แก้ผมหงอก-ผมร่วง
แก้ปวดหัว ไมเกรน
รักษาโรคความจำเสื่อม
รักษาโรคคางทูม และทอลซิล ขับเสมหะ แก้ไอ แก้หอบหืด
ลดกรด แก้ปวดท้อง แก้ปวดท้องประจำเดือน
รักษาโรคกระเพาะ
ช่วยบำรุงสุขภาพ ช่วยให้นอนหลับ ชะลอความชรา
แก้โรคตับ
แก้โรคเบาหวาน เพิ่มสมรรถนะทางเพศ
แก้โรคเกาท์
ฆ่าเชิ้อราที่เท้า
แก้ท้องผูก ลำไล้อักเสบ ลดคอเลสเตอรอล
แก้ปวดเอว ปวดหลัง
รักษาความดันสูง-ความดันต่ำ
แก้หวัด ช่วยให้กระชุ่มกระชวย
ช่วยให้แผลหายเร็ว
แก้หูอักเสบ
แก้ หูด บวม ฟกช้ำ ช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง
ช่วยควบคุม นน. ได้โดยไม่ต้องอดอาหาร
ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคต่างๆ ต่อต้านการอักเสบป้องกันโรคมะเร็งกว่า 20 ชนิด และควบคุมการแพร่เซลล์มะเร็งได้
รวมทั้งสามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อ HIV ได้
เจียวกู้หลาน มีคุณประโยชน์หลากหลายต่อร่างกาย เราควรมาทำความรู้จักกับเจียวกู้หลานให้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเจียวกู้หลานเพื่อให้ท่านดังต่อไปนี้

1.ชื่อเรียกต่างๆของเจียวกู้หลาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynostemma pentaphyllum Makino
เป็นพืชในวงศ์ cucirbitaceae
คนจีนนิยมเรียกว่า เจียวกู้หลาน ( Jiaogolan ) หรือ ชีเย่ตั่น หรือเซียนเฉา แปลว่า สมุนไพรอมตะหรือโสมใต้ ( Southern Ginseng )
คนไทยเรียกว่า ปัญจขันธ์ หมายถึง บำรุงขันธ์ห้าบางคนเรียก โสมคน
ญี่ปุ่น คือ อมาซาซูรุ แปลว่า ชาหวานจากเถา
ประเทศทางตะวันตก เรียกเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อ เช่น Miracle glass ( หญ้ามหัศจรรย์ ) หรือ Southern Ginseng ( โสมใต้ ) หรือ 5-Leaf dinseng หรือ โสม 5 ใบ
ดังนั้น “ปัญจขันธ์” จึงนับเป็นหญ้าสารพัดชื่อที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

2.ลักษณะทางกายภาพและแหล่งกำเนิด
เป็นพืชล้มลุกชนิดไม้เถา เลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกตามข้อ มีใบ 3-7 ใบขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีขนอ่อนเล็กๆ สีขาวปกคลุมที่ใบทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกแยกเพศ ขนาดเล็กสีเขียวอมเหลือง ผลกลม เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ ภายในมีเมล็ด 3-4 เมล็ดขยายพันธ์โดยเพาะเมล็ด แต่นิยมใช้เถาปักชำ ในฤดูฝนจะหยุดการเจริญเติบโต แต่ส่วนใต้ดินยังเจริญ มักพบให้ภูมิภาคเขตร้อน/เขตอบอุ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมามีการกระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นอื่นๆ ทั่วโลก สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ชอบอากาศเย็นพื้นที่ควรสูงจากระดับน้ำทะเล 300-3,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ขึ้นได้ตามภูเขามากกว่าหุบเหว สองปากทางมักพบที่มีความชื้นสูงความชื้นสัมพัทธ์มากกว่าร้อยละ 80 มีปริมาณแสงประมาณร้อยละ 40-60 ลักษณะดินที่ปลูกมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหรือด่างอ่อนและมีความสมบูรณ์

ในสาธารณรัฐประชาชนจีนพบเจริญงอกงามอยู่ตามแถบภูเขาฉินหลง และเขตมณฑลทางใต้ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทางภาคเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ที่ดอยอินทนนท์ แต่ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์ที่แพร่หลาย ปัจจุบันปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ ชัยภูมิ นครราชสีมา จันทบุรี ระยอง ราชบุรี และสระแก้วแต่ยังไม่แพร่หลายนัก เพราะมีปัญหาเรื่องความแข็งแรงของต้นพันธุ์ อีกทั้งเป็นพืชล้มลุกและตายง่ายวิธีการปลูกเจียวกู้หลานให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีในการปลูกบนพื้นที่ขนาดใหญ่คือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนใบ

3.การนำไปใช้ประโยชน์
จะนำส่วนที่อยู่เหนือดินทั้งก้านและใบ คุณค่าของสารสำคัญและรสชาติของเจียวกู่หลานขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกเจียวกู้หลานที่ขึ้นตามธรรมชาติจะมีปริมาณของสารสำคัญสูงสุดและมีรสชาติเข้มข้นส่วนที่ปลูกจะมีรสหวาน เจียวกู้หลานมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นที่รู้จักของชาวจีนตั้งแต่อดีตเป็นอย่างดี มีคุณประโยชน์ที่พร้อมสรรพทั้งในเชิงป้องกันและบำรุงร่างกายมีประวัติการใช้ยาวนานในประเทศจีนและญี่ปุ่น เช่น ในจีนใช้ทั้งเป็นยาแก้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้หลอดลมอักเสบ เจียวกู้หลานใช้รับประทานแก้หิวกระหาย ใช้เป็นยาแก้ไอและแก้อักเสบร้อนใน ต่อมาก็เริ่มมีการคิดค้นคว้าวิจัยและพัฒนาใช้เจียวกู้หลานในการผลิตยาและเหล้า รวมถึงเป็นอาหารเสริม

จากการศึกษาด้านคลินิกและด้านเภสัชทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศพบว่า เจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่ใช้รับประทานเป็นประจำได้ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้นหรือสกัดออกมา โดยจะประกอบด้วยตัวยามากกว่า 50 ชนิดซึ่งมีตัวยาเหมือนโสมคน 4 ชนิดได้แก่ Ginsenosides Rb 1 Rd และ F3 รวมอยู่ด้วย ดังนั้นเจียวกู้หลานไม่เพียงมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับโสมคนเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้อย่างสบายโดยไม่ต้องกังวล ซึ่งต่างจากโสมคน หากใช้เกินขีดปริมาณที่กำหนดอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจุบันมีการใช้เป็นสมุนไพรในรูปแบบชาชงสมุนไพร บำรุงร่างกายและใช้เป็นอาหารสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยมีบันทึกการใช้ประโยชน์ปัญจขันธ์ในยาพื้นบ้านของชาวเขาเผ่าลาหู่ ใช้ทั้งต้นเป็นยารักษาแผล รักษากระดูกและอาการปวดกระดูก

4.การเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์
ปลูกโดยปล่อยทอดเถานอนบนแปลงดินดีกว่าเกาะไม้เพราะกิ่งก้านจะพันกันทำให้เก็บเกี่ยวยาก ควรปลูกในฤดูหนาวและทยอยเก็บเกี่ยวจนได้ต้นฤดูฝน ชอบอากาศเย็นชุ่มชื่นอุณหภูมิประมาณ 13-20 องศา แสงสว่างรำไรๆ ไม่ชอบชื้นและอากาศร้อน ไม่ชอบสารเคมีทุกชนิด ควรขยายพันธุ์โดยการปักชำ การพิจารณาเลือกกิ่งพันธุ์ ให้เลือกกิ่งที่แก่พอประมาณโดยนับจากโคนมาประมาณ 3-4 ใบใช้ส่วนนั้นเป็นกิ่งพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์ / วิธีการปลูก นำดินร่วนให้ได้เฉพาะดินละเอียดจริงๆตักใส่ถุงเพาะชำพรมน้ำให้ชุ่มชื่นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนต่อจากนั้นใช้ไปปักนำร่องเป็นทางให้กิ่งปักชำลงไปในถุงนำไปไว้ในโรงเรือนอนุบาลที่มีหลังคาพรางแสงคลุมด้วยพลาสติกอีกชั้น เพื่อป้องกันฝน ต้นไม้ชนิดนี้เป็นไม้อาศัยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่และอากาศดีเย็นๆ ต่อจากนั้นใช้เวลาประมาณ 15 วันถึง 1 เดือนจึงนำไปปลูกในแปลงดินที่ต้องเป็นดินร่วนปนทราย พรวนดินให้ละเอียดแล้วคลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าเป็นมูลค้างคาวได้ยิ่งเป็นการดีจากนั้นคอยรดน้ำใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 15 วันต่อครั้ง คอยดูแลกำจัดวัชพืชควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 4-5 เดือนรุ่นหนึ่ง

5.การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
สถานบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมมือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.เชียงใหม่ทำการทดลองปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าวในเขตพื้นที่ 5 สวนป่าทางภาคเหนือขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งได้แก่ สวนป่าหลวงสันกำแพง สวนป่าแม่แจ่ม สวนป่าแม่หอพระ สวนป่าบ้านหลวง จังหวัดเชียงใหม่และส่วนป่าอูคอ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งการทดลองปลูกเจียวกู้หลานในพื้นที่ดังกล่าวนั้นจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์จีนกับสายพันธุ์ไทย เพื่อศึกษาตัวสมุนไพรและเอกลักษณะของสารที่อยู่ในตัวสมุนไพร โดยการดำเนินงานในแต่ละสวนจะใช้พื้นที่ 40 ตารางเมตรซึ่งแบ่งโดยแยกปลูกพันธุ์ไทยและพันธุ์จากประเทศจีน คือ สายพันธุ์ไทยโครงการหลวง 20 ตารางเมตรและสายพันธุ์จากประเทศจีน 20 ตารางเมตร

นอกจากนี้ยังมีการทดลองปลูกเปรียบเทียบกันใน 5 จังหวัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อศึกษาว่าพื้นที่ใดเหมาะสมที่จะปลูกเจียวกู้หลาน หลังจากทดลองปลูกสมุนไพรชนิดเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าเจียวกู้หลานพันธุ์จีนเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์ไทย ในภาคกลางให้ใบดีกว่าภาคอื่นๆ หลังจากได้เก็บใบเจียวกู้หลาน 2 พันธุ์มาตรวจสอบสารสำคัญพบว่า พันธุ์จีนมีสารสำคัญร้อยละ 18-19 ส่วนพันธุ์ไทยมีสารสำคัญร้อยละ 12-13 โดยใบกิ่งงอกงามดีมีสารสำคัญน้อยกว่าใบที่ไม่ค่อยสวยพื้นที่ภาคเหนือมีสารสำคัญมากกว่าภาคอื่นๆ เบื้องต้นหากจะปลูกเจียวกู้หลานควรเลือกพันธุ์ที่ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย

จากการได้นำทุกส่วนของเจียวกู้หลานที่ปลูกมาสกัดและทดสอบสรรพคุณทางเภสัชวิทยา พบว่าสามารถเพิ่มการแบ่งตัวของสัมโพชัยท์ ซึ่งมีส่วนเสริมภูมิคุ้มกับร่างกายและในการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่ามีฤทธิ์ต้าน ดังนั้นจึงมีคุณภาพที่จะส่งเสริมผลิตวัตถุดิบ สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์เสริมคุณภาพและเป็นยาได้ นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบความปลอดภัยในการอาสาสมัครปกติแล้ว พบว่า มีความปลอดภัยต่อร่างกาย

เจียวกู้หลานหรือปัญจขันธ์ (Jiaogulan) Gynostemma Pentaphyllum (Thunb) Makino วงศ์ Cucurbitaceae เป็นพืชเถาตระกูลแตงที่มีสรรพคุณและมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นที่รู้จักของชาวจีนตั้งแต่อดีตเป็นอย่างดี ได้รับสมญานามว่า “เซียนเฉา” (Xiancao) แปลว่า สมุนไพรอมตะหรือโสมใต้ (Southern Ginseng) และชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “อมาซาซุรุ” มีประโยชน์พร้อมสรรพคุณทั้งในเชิงป้องกันและบำรุงร่างกายจนได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศในการค้นคว้า วิจัยถึงสรรพคุณของเจียวกู้หลาน สารออกฤทธิ์ของเจียวกู้หลานมีชื่อว่า “จิบเป็นโนไซด์” ซึ่งเป็นสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับ “จิบเป็นโนไซด์” ในโสมคน เจียวกู้หลานมีสารประกอบซาโปนิน 82ชนิด ซึ่งโสมคนจะมีอยู่เพียง 28 ชนิด ประเทศไทยได้ยกย่องให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติในปี 2548 มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นที่ยืนยันว่า เจียวกู้หลานช่วยปรับลดระดับคลอเรสเตอรอลชนิดเลวคือ LDL ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายฉับพลัน 67-93% ขณะที่เพิ่มคลอเรสเตอรอลชนิดดีคือ HDL ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการควบคุมการเจริญและแพร่เชื้อของเซลล์มะเร็งได้ รวมทั้งสามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อ HIV รักษาอาการโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

***จากการผลรวบรวมรายงานการวิจัยและเอกสารวิชาการเกี่ยวกับเจียวกู้หลานนี้ เฉพาะที่เป็นงานวิจัยหรือผลงานเผยแพร่ที่มีขึ้นในช่วง 20 ปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา พบว่ามีมากกว่า 200 รายการงานวิจัยส่วนมากเป็นการศึกษาด้านสรรพคุณ เคมี และการศึกษากระบวนการหรือวิธีการ ซึ่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางเคมี สรรพคุณ และความปลอดภัยของพืช กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า “ไม่มีพิษเฉียบพลันหรือพิษเรื้อรังเมื่อใช้เป็นเวลานาน”

สรุปคุณสมบัติของเจียวกู้หลาน
มีสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)
มีสารปรับสมดุลร่างกาย(Adaptogen)
เสริมประสิทธิภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ลดความดันโลหิตสูง
ลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
ป้องกันภาวะหัวใจวายและอันตรายจากหลอดเลือด สมองพิการ
เพิ่มความแข็งแรงของระบบต้านทานโรคเพิ่มความแข็งแรงระบบภูมิคุ้มกันโรค
ยับยั้งโรคมะเร็ง
ช่วยให้ระบบขับถ่ายสะดวกขึ้น ลดอาการท้องผูก เพิ่มจำนวนอสุจิ
บรรเทาอาการจากระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้นอนหลับง่าย ส่งผลให้ความจำดีขึ้น
ไม่มีคาเฟอีน สามารถดื่มได้เป็นประจำ
ราคาก็ไม่แพง ราคาปกติที่ขายอยู่ในท้องตลาด ช่วง พ.ศ. ๒๕๕๕ ขนาดบรรจุ 100 g. ราคาประมาณ 100 บาท

ถ้าหาซื้อที่ไหนไม่ได้ที่ร้านดอยคำ มีวางขายอยู่ค่ะ

ที่มาของเอกสาร
ดร.ไมตรี สุทธจิตา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศิว์สื้อ หมิงกับสมุนไพรเจี่ยวกู่หลาน ในนิตยสารภาพจีน ปีที่ 5 ฉบับที่ 54 เมษายน 2535 หน้า 30-31
Michale Bluenert and Dr.Jialiu Liu. Jiaogulan Chiana “Immottrality Herb”1999 Feb, 2.
พัฒนา สมุนไพร”ปัญจขันธ์” ยับยั้งไวรัสเอดส์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ www.nrct.net
ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งหมดค่ะ

ที่มา
เจี่ยวกู้หลาน “ไม่ใช่โสม แต่ดีกว่าโสม”
ชาเจียวกู่หลาน
สมุนไพรเจียวกู้หลาน
ชาสมุนไพรเบญจขันต์ (เจียวกู่หลาน) เกรด A
สมุนไพร “อายุวัฒนะ” นามว่า เจี่ยวกู่หลาน ปัญจขันธ์ หรือโสมใบ (โสมพุทธรัตนะ)
สาระน่ารู้ของเจียวกู่หลาน
ชาเจียวกู่หลาน
สุดยอดชาสมุนไพรปัญจขันธ์ (เจียวกู่หลาน) – ลดไขมัน ลดน้ำตาล ชะลอความชรา
Hundreds of Herbal Medicine Products to be Outlawed Across EU in Early 2011

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=892008