มารู้จักไข่มดแดงสุดอร่อย 5/5 (4)



โหวตบทความนี้หน่อยจ้า

มารู้จักไข่มดแดงสุดอร่อย

รู้จักกับไข่มดแดง

ไข่มดแดง นับว่าเป็นอาหารที่รสชาติแซ่บมากกก ของภาคอีสาน และหลายๆคนคงเคยรู้จักหรือรับประมานกันมาบ้างแล้ว ไข่มดแดงคือไข่ของมดแดงนั่นเอง

10 เรื่องจริงของมดแดง
หากพูดถึง “มดแดง” เชื่อว่าหลายคนคงจะจำความรู้สึกตอนโดนกัดได้เป็นอย่างดี และคงผ่านประสบการณ์การโดนกัดกันมาไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่พิษจากมดแดงจะทำให้ใครต่อใครเจ็บจนขยาดเท่านั้น แต่มดแดงยังสร้างความเสียหายให้กับอาหารของเรา ทั้งยังมีอีก 10 เรื่องราวที่ใครหลายคนยังไม่รู้ต่อไปนี้

1.มดแดง เป็นมดที่เลือกทำรังบนต้นไม้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นที่มีใบขึ้นหนาแน่น เป็นไม้ยืนต้น โดยเฉพาะต้นมะม่วง (จนเกิดเป็นที่มาของคำพังเพยว่า “มดแดงแฝงพวงมะม่วง”)

2. สำหรับในรังของมดแดงนั้น จะมีมดตัวหนึ่งที่เป็นนางพญาหรือเป็นราชินีมด ซึ่งเปรียบเสมือนผู้นำ คอยวางไข่ บริหารจัดการไข่ทุกอย่าง รวมถึงดูแลความเป็นไปของบริวารมดทุกตัวในรัง โดยนางพญามดหรือราชินีมดนี้ จะมีรูปลักษณ์แตกต่างจากมดแดงทั่วไปอย่างชัดเจน

3. นอกจากราชินีมดแล้ว ครอบครัวของมดจะประกอบไปด้วย “มดงาน” ด้วย ซึ่งมดงานจะเป็นเหมือนแรงงานชั้นยอด โดยภายในรังจะมีมดงานหลายระดับ แต่ละระดับจะแบ่งหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่หาอาหาร ดูแลราชินีมด และอื่นๆ อีกมากมาย เปรียบเสมือนทีมเวิร์คในองค์กรก็ว่าได้

4.เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า มดแดงโน้มเอาใบ้ไม้แต่ละใบมาประกบติดกันเพื่อสร้างเป็นรังใหญ่ๆได้อย่างไร ? …ที่มันทำอย่างนั้นได้ก็เพราะว่า ตัวอ่อนของมดสามารถปล่อยเส้นใยที่มีลักษณะเหนียวๆ ออกมาจากตัวได้ ดังนั้น มดงานที่ทำหน้าที่สร้างรัง จึงใช้เส้นใยจากตัวอ่อนนี้มาประกบใบไม้แต่ละใบให้ติดกัน จนกลายเป็นรังที่แข็งแรงนั่นเอง

5. แน่นอนว่ามดแดงไม่สามารถพูดได้ แต่มันก็มีวิธีสื่อสารระหว่างกันเหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยวิธีในการสื่อสารของมดแดงนั้น จะมีทั้งการปล่อยสารฟีโรโมน รวมไปถึงการแสดงท่าทางต่างๆ โดยสัญญาณที่สื่อสารถึงกันเหล่านี้ จะบ่งบอกได้ถึงแหล่งอาหารที่มันพบเจอ รวมถึงศัตรูที่กำลังมาเยือนนั่นเอง… ดังนั้นแล้ว หากเห็นว่ามดเดินตามกันมาเป็นแถวๆ หรือทำท่าทางเหมือนกำลังคุยกัน ขยับหัว ส่ายลำตัวไปมา จึงไม่ต้องแปลกใจ

6. ไม่เพียงแต่การสื่อสารที่น่าทึ่ง รวมถึงความขยันและความสามัคคีกันของมดแดงเท่านั้น แต่มดแดงยังเป็นสัตว์ที่รู้จักการวางแผนที่ดีอีกด้วย จะเห็นได้ว่า มดแดงจะช่วยกันทำรังสำรองเอาไว้หลายรังเพื่อเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นต่างๆ ทั้งใช้สำหรับถ่ายเทและจัดสรรจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น หรือเอาไว้หลบซ่อนอาหาร เป็นต้น

7. สำหรับอาหารของมดแดงนั้น นอกไปจากน้ำตาลที่มดแดงโปรดปรานเป็นพิเศษแล้ว มดแดงยังกินอาหารอีกหลากหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช ซากแมลงแห้งๆ ที่ตายแล้ว ของเหลวจากแมลง และอื่นๆ อีกมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่งเศษอาหารชิ้นเล็กชิ้นน้อยในบ้าน จึงไม่ต้องสงสัยเลย หากมดแดงจะยกขบวนกันเข้ามาในบ้านของเรา

8. แม้ว่าเพลี้ยจะเป็นศัตรูกับพืช แต่สำหรับมดแดงแล้ว เพลี้ยถือเป็นมิตรที่ดีของมดแดงเลยทีเดียว เนื่องจากมดแดงจะเลี้ยงเพลี้ยไว้ เพื่อกินของเหลวหวานๆ ที่เพลี้ยปล่อยออกมานั่นเอง

9.มดแดงที่เราเห็นว่าไม่มีปีกนั้น จะเป็นมดงานทั่วไป แต่มดแดงที่มีปีกจริงๆ จะได้แก่มดนาง (ตัวเมีย) และมดตัวผู้

10. พิษของมดแดงจะถูกปล่อยออกมาจากทางปลายท้องหลังจากที่มันทำการกัดเราเรียบร้อยแล้ว ซึ่งใครที่เคยโดนกัดคงจะเกิดอาการแสบๆ คันๆ และเป็นตุ่มแดงไม่น้อยเลยทีเดียว เรียกได้ว่ามดแดงมีพิษสงที่แตกต่างจากขนาดตัวจริงๆ

อย่างไรก็ตาม แม้มดแดงจะเป็นแมลงที่น่าพิศวงสักเพียงไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หากมดแดงได้เข้ามาในบ้านของเราก็คงจะไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่นัก ฉะนั้น นอกจากการป้องกันด้วยการเก็บกวาดเศษอาหารบนพื้นให้เรียบร้อย รวมถึงเก็บอาหารที่ทานไม่หมดเข้าตู้แล้ว ก็ยังสามารถใช้สเปรย์สำหรับแมลงคลาน ฉีดพ่นภายในบ้านที่มีมดแดงอาศัยอยู่ได้เช่นเดียวกัน

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=277239
http://redantbehavior.exteen.com/
http://www.indepencil.com

 

มดแดง

เป็นแมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในแมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบและเข้าใจลึกซึ้งถึงประโยชน์ที่ได้รับจากมดแดง ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของมดแดง มดแดงช่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยต่าง ๆ หนอนศัตรูพืชเกือบทุกชนิดและแมลงที่เป็นศัตรูพืชต่าง ๆ การดำรงชีวิตของมดแดงเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ภายในรังมดแดงจะมีสมาชิก คือ

– แม่เป้ง (นางพญา) มีรูปร่างขนาดใหญ่มากกว่ามดแดงธรรมชาติมาก ลำตัวเป็นสีเขียวปนน้ำตาล มีปีกสำหรับบิน มีหน้าที่ออกไข่คล้ายกับนางพญาปลวก ผึ้ง เมื่อใดแม่เป้งเห็นว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการสร้างรังและวางไข่ แม่เป้งจะทิ้งรังเดิมไปสร้างรังและวางไข่ที่อื่นที่มีน้ำ อาหารสมบูรณ์ ตามต้นไม้ มีใบดกเขียวชะอุ่ม หนา ทึบ และปลอดภัย

– มดแดง ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่า มดแดงตัวใดเป็นมดงาน มดพยาบาล หรือมดแดงเหมือนกับปลวก เนื่องจากมดแดงตัวเมีย สามารถทำหน้าที่ ได้สมบูรณ์ทั้ง 3 กรณี คือ เป็นมดงานทำหน้าที่สร้างรัง มดพยาบาลทำหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อนและมดทหารทำหน้าที่ต่อสู้ขัดขวางผู้บุกรุกที่จะทำอันตราย แก่รังของมัน
การกำเนิดประชากรของมดแดง

เริ่มจากแม่เป้งจะออกไข่ไว้ในรังที่ตัวมันสร้างเพียงตัวเดียวก่อน จำนวนไข่มีไม่มาก ประมาณ 100 – 500 ฟอง ในจำนวนไข่ทั้งหมดจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
– ไข่มาก เป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่ผิดธรรมดา จะฟักออกมาเป็นแม่เป้งมดแดง
– ไข่ฝาก เป็นไข่ที่มีขนาดเล็กไม่โต ไม่เต่งเหมือนไข่มาก จะฟักตัวออกมาเป็นตัวมดแดงธรรมดา เมื่อไข่ทั้งหมดฟักเป็นตัวอ่อน และเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็น ประชากรมดแดงที่มีจำนวนมาก จำนวนจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก มีแม่เป้งหลายตัว จะปัจจัยสนับสนุนด้านน้ำและอาหารสมบูรณ์
– ไข่มดดำ ไข่มีขนาดเล็กออกสีดำ ฟักออกเป็นตัวมดดำมีปีกแล้วบินหนีไป

การสร้างรัง

มดแดงทุกตัวจะมีเส้นใยพิเศษที่ได้จากน้ำลายและกรดมดจากท้องของมัน ลักษณะของใยมีสีขาว (เมื่อแห้งแล้วอ่อนนุ่มและเหนียวคล้ายสำลี) มดแดงจะดึงใบไม้มายึดติดกันโดยใช้ใยนี่เอง ส่วนมากจะสร้างรังเป็นรูปทรงกลม สามารถป้องกันน้ำฝนได้ แม่เป้งจะออกไข่ให้มดแดงเลี้ยงดู จนกระทั่งฟักเป็น ตัวอ่อน และตัวอ่อนจะได้รับการป้อนน้ำ ป้อนอาหารตลอดเวลา หากได้รับอย่างเพียงพอจะเจริญเติบโตเป็นมดแดงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 5 – 10 วัน ต้นไม้ที่ มดแดงชอบสร้างรัง เช่น ต้นมะม่วง สะเดา ต้นจิก ต้นไทร ต้นโพธิ์ ต้นกระบาก และต้นขี้เหล็ก เป็นต้น

อาหารของมดแดง

มดแดงชอบอาหารที่แห้งสนิท เช่น ปลาแห้ง จิ้งจก ตุ๊กแก งูที่ตายแล้ว และที่ชอบเป็นพิเศษ คือ แมลงชนิดต่าง ๆ จะคาบไปสะสม ไว้ในรัง หากอาหารชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถจะคาบหรือลากไปเก็บไว้ในรังได้ มดแดงจะช่วยกันกัดและเยี่ยวราดเอาไว้เพื่อไม่ให้เน่าเหม็นได้ และจะรอจนกว่าอาหารนั้นแห้ง จึงจะค่อยกัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นำเอาไปเก็บไว้ในรังเพื่อป้อนตัวอ่อนและกินเป็นอาหาร


คอนโดไข่มดแดง

เกษตรกรแนวใหม่ ใช้ปรัชญาท้องถิ่น เพาะรายได้สุดงามจากการทำไข่มดแดงคอนโด บังคับออกนอกฤดู

ไข่มดแดง นับเป็นของป่าที่มูลค่า และหากินได้ยากมาก เนื่องจากจำนวนการออกผลผลิตมีได้เพียงปีละครั้ง ทำให้มีราคาและเป็นที่ต้องการของตลาด แต่คงไม่ใช่ในปัจจุบัน เพราะได้มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่หันมาเลี้ยงไข่มดแดงคอนโด และบังคับให้ออกไข่นอกฤดูกาล จนกลายเป็น 1 อาชีพที่เสริมรายได้ให้คนไทยจำนวนไม่น้อย

เพจเฟสบุ๊ก “เกษตรก้าวหน้า” จะพาไปรู้จักความรู้การทำคอนโดไข่มดแดง จากแนวคิดและภูมิปัญญาของ “พ่อครูสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์” ปราชญ์แห่งสวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน ที่ได้ระบุว่า ภูมิปัญดังกล่าวเกิดจากการสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ โดยเฉพาะมดแดงที่บางครั้งมักจะทำรังในขวดพลาสติก หรือท่อพีวีซี ซึ่งจากการสังเกตนี้เองจึงทำให้เกิดแนวคิดการเลี้ยงไข่มดแดงคอนโดขึ้นมา

การทำคอนโดไข่มดแดงสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมทำกันคือการนำขวดพลาสติกมาเจาะรูด้านข้างหรือตัดขวดตามแนวขวางประมาณ 1/4 บริเวณส่วนหัวขวด แล้วจึงนำส่วนที่ตัดแล้วสอดกลับเข้าไปในตัวขวด โดยให้ปากขวดหงายขึ้น (ดังภาพ) บริเวณก้นขวดให้เจาะรูเพื่อทำเป็นที่แขวนผูกติดกับต้นไม้

จากนั้นก็ล่อให้มดแดงเข้ามาอยู่ในคอนโดนั้น โดยใช้เหยื่อจำพวกแมลงอบแห้ง (อบด้วยแสงแดด) เช่น จิ้งหรีด แมงเม่า แมงจินูน เป็นต้น ใส่ลงไปในรังเทียม หากเป็นแมลงตัวใหญ่ใช้ประมาณ 5-6 ตัว แต่หากเป็นแมลงตัวเล็กจะต้องใส่จำนวนมากหน่อยประมาณ 15-20 ตัว

ซึ่งการจะได้ผลดีต้องสังเกตด้วยว่าต้นไม้นั้นมีมดแดงรังใหญ่อยู่มากขนาดไหน เพราะส่วนใหญ่มดแดงที่จะคาบไข่มาไว้ในรังเทียม จะเป็นมดแดงที่มีรังขนาดใหญ่ ๆ มีประชากรเยอะ ๆ และหากรังเทียมไหนมีมดแดงเยอะก็ไม่ควรเติมเหยื่อเพิ่ม แต่ควรดูแลอย่าให้รังมดถูกรบกวนไม่อย่างนั้นมดแดงอาจจะขนไข่ย้ายหนีไปได้

การทำคอนโดไข่มดแดงให้ประสบความสำเร็จ ต้องทำควบคู่กับการเลี้ยงมดแดง ซึ่งจะต้องให้อาหารจำพวกแมลงอบแห้ง และน้ำผสมน้ำหวาน โดยข้อดีของการทำคอนโดมดแดงคือ การลดการทำลายรังและประชากรของมดแดง อีกทั้งหากเลี้ยงในเชิงพาณิชย์จะช่วยให้ผู้เลี้ยงเก็บไข่มดแดงได้สะดวกสบายขึ้น เราสามารถเลือกเก็บไข่มดแดงได้ และทำให้ทราบถึงปริมาณไข่มดแดงที่จะเก็บขายได้ พ่อครูสุทธินันท์ ระบุ

ด้านคุณไพรัตน์ ชื่นศรี ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านแสงจันทร์ หมู่ที่ 7 ตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกมาเปิดเผยถึงเทคนิคการเลี้ยงมดแดงให้ออกไข่นอกฤดู ว่า

หากฝนไม่ตกให้ทำการฉีดน้ำใส่ใบหรือฉีดใส่ต้นไม้ในช่วงเย็นๆ เดือนละ 1-2 ครั้ง ในช่วงฤดูหนาวและร้อน มดแดงก็จะเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น หรือให้ติดสปริงเกอร์ ตลอดแนวราวเลี้ยงมดแดง เพื่อฉีดน้ำในช่วงที่ฝนไม่ตกหรือฤดูร้อนเพื่อหลอกว่าเป็นช่วงฤดูฝน โดยที่ในช่วงเดือนมีนาคม เริ่มให้น้ำโดยการใช้น้ำฉีดจากสายยางหรือสปริงเกอร์ที่ติดตั้งไว้

จากนั้นให้อาหารตามปกติ ประมาณอีก 1 เดือน เริ่มมีไข่สามารถเก็บจำหน่ายได้ วิธีการสังเกตว่ามดแดงรังไหนสามารถเก็บได้คือ ให้ดูจากรังว่าใหญ่หรือไม่ หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ให้สังเกตว่าที่รังมดแดงเป็นฝ้าหรือไม่ ถ้าเป็นฝ้าสีขาวขึ้นตามขอบรังแสดงว่าเก็บมดแดงได้แล้ว

สำหรับขั้นตอนวิธีการทำ สามารถทำได้โดยง่าย ดังนี้

1. สังเกตดูบริเวณป่าที่จะเลี้ยงมดแดงจะต้องมีต้นไม้อย่างน้อย 5-10 ต้น เป็นไม้ผล หรือไม้พื้นเมืองก็ได้ มดแดงจะชอบอยู่ อาศัยพื้นที่ป่า และพื้นที่ที่มีต้นไม้ใบอ่อน
2. ตัดขวดน้ำพลาสติก โดยแบ่งครึ่ง 2 ส่วน ล้างน้ำให้สะอาด นำมาเจาะรู 2 รู เพื่อทำการผูกลวดใส่กับต้นไม้
3. ส่วนที่มีฝาขวดใช้ใส่อาหารเพราะถ้ามีน้ำขังสามารถเปิดฝาให้น้ำระบายออกได้
4. ส่วนที่เป็นก้นขวดให้ใส่น้ำ และนำกิ่งไม้ใช้เชือกผูกกับต้นไม้เป็นทางลงโดยหย่อนพาดลงในขวดที่ตัดใส่น้ำและอาหาร
5. ขึงเชือกโดยผูกติดกับต้นไม้และผูกโยงเชือกระหว่างต้นไม้เป็นถนนเส้น ทางเดินไปมาของมดระหว่างต้นไม้
6. การเลี้ยงหลังจากจัดเตรียมเส้นทางและเลือกต้นไม้ไว้แล้ว ให้ไปหารังมดแดง นอกพื้นที่ไกล ๆ ยิ่งดี เพื่อไม่ให้เกิดเลือดชิดเพราะถ้าเลือดชิดจะทำให้การเกิดไข่น้อย
7. หลังจากที่เลือกรังมดแดงได้แล้ว ให้ทำการตัดรังมดแดงใส่ในถุงปุ๋ยรังละถุง
และ 8. นำรังมดแดงที่ตัดมาได้เอาปล่อยในตอนเย็น โดยมัดถุงปุ๋ยที่ใส่มดแดงไว้กับต้นไม้ ตอนเช้าค่อยให้น้ำและอาหารที่เตรียมไว้ในขวดน้ำอัดลมที่มัดติดต้นไม้ มดแดงก็จะไต่ออกมาและสร้างรังใหม่เอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/893308300706764