การเลี้ยงหนอนรถด่วน 4.75/5 (12)



โหวตบทความนี้หน่อยจ้า

หนอนรถด่วนถือเป็นอาหารที่ทานกันมานานแล้วในภาคเหนือของไทย และเป็นที่นิยมในภาคต่างๆต่อๆไป แม้แต่ใน กทม ตอนนี้หนอนรถด่วนถือเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ในอดีตการเก็บหนอนรถด่วนจะเก็บจากแหล่งธรรมชาติ แต่ปัจจุบันเนื่องการนิยมบริโภคที่มากขึ้น จึงมีการเพาะเลี้ยงขึ้น ลองมาดูการเพาะเลี้ยงหนอนรถด่วนกันว่า ทำอย่างไร 

เทคนิคการเลี้ยง หนอนรถด่วนในสวนไผ่
หนอนรถด่วน หรือ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนกินเยื่อไผ่เป็นอาหาร ชาวจีนฮ่อเรียก จูซุง คนพม่าเรียก ลาโป้ว และชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า คลีเคล๊ะ ส่วนคนไทยเรียกว่าหนอนรถด่วน เพราะตัวหนอนมีรูปร่างลักษณะคล้ายโบกี้รถไฟนั่นเอง

หนอนไม้ไผ่เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่ารถด่วนมีวงจรชีวิตเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ หนอน (ตัวอ่อน) ดักแด้ และผีเสื้อกลางคืน วงจรชีวิตยาวนานประมาณ 1 ปี ระยะเวลาเป็นตัวหนอน 10 เดือน ในห้วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึง เดือนพฤษภาคม ถิ่นที่อยู่อาศัยพบกระจายอยู่ในป่าไผ่ทางภาคเหนือความสูงระดับ 480-1300 เมตรจากระดับน้ำทะเล อากาศเย็นฝนตกชุกและมีความชื้นสูง


ขั้นที่ 1: เมื่อพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของผีเสื้อกลางคืนผสมพันธุ์กันแม่ผีเสื้อจะวางไข่บนผิวหน่อไม้ ซึ่งการผสมพันธุ์และวางไข่จะเกิดในเวลากลางคืนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนโดยไข่จะถูกวางเรียงเป็นแพ มีสีขาวขุ่น

ขั้นที่ 2:ไข่ที่ถูกวางเรียงเป็นแพสีขาวขุ่น จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนสีน้ำตาลใส เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนหมดแล้ว ตัวอ่อนจะเดินทางไปตามผิวของหน่อไผ่และเจาะผิวไผ่ตรงบริเวณเนื้อไม้ที่มีความอ่อนพอที่จะเจาะได้แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ภายในลำไผ่นั้น หลังจากตัวอ่อนเข้าไปอาศัยอยู่ในลำไผ่ตัวอ่อนเหล่านั้นจะลอกคราบเป็นตัวหนอนสีขาว และช่วยกันเจาะรูออกไว้ล่วงหน้า ขนาดกว้างประมาณ 0.5
เซนติเมตรยาวประมาณ 1 เซนติเมตรสำหรับให้ตัวเต็มวัยนั้นก็คือผีเสื้อกลางคืนที่จะมุดออกมาจากลำไผ่ได้

ในระหว่างที่หนอนอยู่ภายในลำไผ่เป็นระยะเวลา 10 เดือน หนอนจะกินเยื่อไม้ไผ่อ่อนเป็นอาหาร โดยหนอนเหล่านั้นจะเจาะรูที่ข้อไผ่ทะลุขึ้นทีละข้อ ข้อละรู เพื่อขึ้นไปกินเยื่อไผ่และเนื้อไผ่อ่อนโดยจะกินจากปล้องล่างๆ ขึ้นไปสู่ปล้องบนตามการเจริญเติบโตของหน่อไผ่ที่แทงยอดสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลา 2 เดือนแรกที่หนอนอยู่ในปล้องไผ่หนอนจะกระจายตัวกินเยื่อไผ่ตามปล้องต่างๆตลอดลำไผ่ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่หลังจาก 2 เดือนผ่านไป คือช่วงประมาณเดือนตุลาคม หนอนเหล่านั้นจะคืบคลานลงมาอยู่รวมกันที่โคนไผ่เหนือปล้องที่ได้เจาะรูไว้สำหรับเป็นทางออก หนอนจะหยุดกินอาหารและหยุดการเจริญเติบโต จากนั้นก็จะสร้างเยื่อบางๆ สีน้ำตาลห่อหุ้มตัวไว้อีกชั้นหนึ่งและจะอยู่รวมกันเป็นเวลานานราว8เดือน

ขั้นที่ 3: หนอนที่สร้างเยื่อบางๆสีน้ำตาลห่อหุ้มตัวเอง จะเข้าสู่ระยะดักแด้ โดยจะอยู่ในระยะดักแด้เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนหลังจากเก็บตัวอยู่รวมกันที่โคนไผ่โดยไม่กินอะไรเลยนาน 8 เดือนหนอนไม้ไผ่จะเข้าดักแด้อีกเกือบ 2 เดือน ก่อนจะกลายเป็นตัวเต็มวัย

ขั้นที่ 4: เมื่อครบกำหนดระยะดักแด้แล้วดักแด้เหล่านั้นก็จะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืนและออกสู่โลกภายนอกทางรูที่ได้เจาะไว้ หลังจากนั้นตัวเต็มวัยหรือผีเสื้อกลางคืนจะทำการผสมพันธุ์ แล้วผีเสื้อตัวเมียจะทำการวางไข่จนกลายเป็นตัวอ่อนพัฒนาจนเป็นหนอนและดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย เป็นวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อกลางคืนอย่างนี้หมุนเวียนกันไปโดยผีเสื้อกลางคืนมีสีน้ำตาลส้มปีกคู่บนมีลวดลายหยักคล้ายเส้นโค้งสีดำตัวผู้มีขนาด 2 ซม. ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวแก่มีอายุประมาณ 1 สัปดาห์

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.rakbankerd.com/